วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร



พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น พระแก้วมรกตถูกชิงไปเพื่อประดิษฐานที่เมืองต่างๆ จนครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้สถาปนาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
ตามตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด
การนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้จำแลงกายเป็นมานพธรรมดา ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าว่า ตนทั้งสองเป็นพ่อค้าเดินทางมาหลายที่ ได้ไปพบแก้วรัตนโสภณมณีโชติ อันมีรัตตนายกดิลกเฉลิม 3000 ดวง สีแดงสุกใส ที่เขาวิบุลบรรพต (เวฬุบรรพต) ณ ดินแดนห่างไกลโพ้น คิดว่าเป็นแก้วที่เหมาะสมควร แก่การนำมาจำหลักพระพุทธรูปให้สืบพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช ว่าแล้วดังนั้น เมื่อถึงเขาวิบุลบรรพต สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงทรงโปรดให้พระวิสสุกรรมเทพบุตร เข้าไปนำแก้วรัตนโสภณมณีโชติมา แต่พระวิสสุกรรมทรงกราบทูลว่า ยักษ์ผู้เฝ้าแก้วนั้นมิยอมมอบให้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงเสด็จด้วยพระองค์เอง พวกยักษ์ก็ยังกราบทูลไม่ถวายแก้วรัตนโสภณมณีโชติเช่นเดิม โดยทูลเหตุผลประกอบว่า แก้วนี้เป็นแก้วคู่บุญบารมีพระบรมศุลีจอมไกรลาส เป็นแก้วชั้นมหาจักรพรรดิ มิสามารถถวายให้ได้จริง สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงตรัสตอบว่า จะทรงนำไปจำหลักพระพุทธรูปให้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดล่วง 5000 พระชันษา เหล่ายักษ์จึงประชุมกันและลงความเห็น มอบแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) ให้ไปแทน
เมื่อถึงวัดอโศการาม จึงทรงมอบให้พระนาคเสน และพระวิษุกรรมจึงทรงจำหลักพระพุทธรูปองค์นี้ถวายดังพระประสงค์ เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึงบอกบุญไปยังอุบาสก อุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการาม แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตนบัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
นอกจากนี้ในตำนานยังระบุด้วยว่าขณะที่ประดิษฐานอยู่นั้น พ่อค้าวานิช และพระมหาราชาธิราชจากประเทศต่างๆที่มาสักการะ ต่างพบเห็นพระแก้วมรกตเปล่งพระรัศมีออกมางามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่น่าพิศวงยินดียิ่งนัก พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ

[แก้] เสด็จลังกาทวีปและแผ่นดินกัมพูชา
พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จึงลงความเห็นกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องอัญเชิญหนีมหาภยันตราย จึงอัญเชิญพระรัตนตรัย และพุทธบริษัท คือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตในฐานะพระพุทธ พระไตรปิฎกธรรม ที่ประดิษฐานในวิหารนั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ พ่อค้าวานิชและชาวเมืองปาฏลีบุตรกลุ่มหนึ่ง ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง พระศีลขันธ์ภิกษุ และพระอาจารย์(ไม่ได้ระบุนาม) ได้ทำการพิจารณาพระไตรปิฎก ท่านเกิดสงสัยว่าพระไตรปิฎกธรรมในแผ่นดินพม่ารามัญทั้งปวงนั้น เห็นจะผิดอักขระไม่ต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา จึงทูลพระเจ้าอนุรุทธไปตามนั้น พระเจ้าอนุรุทธได้ทรงสดับก็มีพระศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสถามถึงที่ตั้งของพระไตรปิฎกธรรมฉบับที่ถูกต้อง พระศีลขันธ์จึงทูลว่า พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น คือพระไตรปิฎกฉบับพระพุทธโฆษาจารย์เถระที่ลังกาทวีป
พระเจ้าอนุรุทธจึงมีพระราชโองการ ดำรัสสั่งเสนาบดีให้แต่งสำเภาเชิญพระราชสาส์นสองลำ ให้แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธจารลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการอันเป็นต้นว่าดินสอแก้ว น้ำมันดิน พลอย ทับทิม รัตนชาติหลากชนิด และสิ่งของอื่นๆเป็นอันมาก แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม 8 รูป ซึ่งรวมถึงพระศีลขันธ์ภิกษุและพระอาจารย์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราชบุรุษ ทั้งราชทูต อุปทูต ตรีทูต และไพร่พลพอสมควร คุมพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ โดยที่พระองค์เองประทับสำเภาพระที่นั่ง และพลทหารบริวารอีกหนึ่งลำ รวมเป็นสี่ลำ มุ่งหน้าสู่ลังกาทวีป
ราชทูตพุกามเข้าเฝ้าถวายสาส์น พระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปก็เสด็จรับ ด้วยพระองค์เองที่พระราชวังริมฝั่งอ่าวลังกา พระสังฆราชลังกาก็ให้การอุปสมบทพระสงฆ์พุกามทั้ง 8 รูปเป็นภิกษุบริสุทธิ์พระเจ้าอนุรุทธ ดำรัสสั่งเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิต ระดมคัดลอกพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัททาวิเสส ซึ่งครั้งนั้น ชาวเมืองลังกาก็ช่วยคัดเพิ่มอีกสำรับหนึ่ง
พระเจ้าอนุรุทธจึงขอพระราชทานพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จากพระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ ซึ่งด้วยเป็นพระราชไมตรีอันมาช้านานนั้น จึงต้องจำพระทัยยกให้ แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน
พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 1172

[แก้] เสด็จประทับ เชียงแสน ล้านนา ล้านช้าง
หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนทรงทราบว่าพระบรมราชาธิราช เจ้าเมืองกำแพงเพชรมีพระแก้วมรกต พระเจ้าพรหมทัศน์มีพระราชประสงค์ใคร่จะได้ ไปเป็นศรีนครแก่นครเชียงแสนจึงทูลขอต่อพระเจ้ากำแพงเพชร
ด้วยสันถวไมตรีพระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้พิจารณาว่า หากนำพระแก้วมรกต หลบภัยสงครามไปด้วยอาจจะเกิดอันตรายกับพระแก้วมรกตได้ จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและ ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด เป็นอันจบส่วนของตำนาน เพราะหลังจากมีการพบพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ในเจดีย์ป่าญะ วัดพระแก้วงามเมืองนั้น ก็เป็นเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกตรงกันในทุกสำนัก หากแต่คลาดเคลื่อนเรื่องวันเดือนปีไปบ้าง เนื่องจากการนับศักราชต่างกันแก่ลาว

ตำนาน พระแก้วมรกต

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า "พระแก้วมรกต" ซึ่งสถิตย์เป็นพระประธานคู่บ้านคู่เมือง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สถิตย์เป็นองค์ประธาน ณ พระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตามโบราณจารย์ประเพณีถือว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร "พระแก้วมรกต" เป็นพระพุทธรูปที่พระอินทร์ และพระวิษณุกรรม จัดหาลูกแก้วมาสร้างองค์ เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๗ พระองค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพระประธานสำคัญในการอัญเชิญประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของประเทศไทย ตำนานโดยสังเขปกล่าวว่า เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงแล้วได้ ๕๐๐ ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งนามพระนาคเสนเถรเจ้า จำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระพุทธศาสนากำลังเจริญเต็มที่ในยุคนั้น พระนาคเสนได้รำพึงและประสงค์จะจัดสร้างพระพุทธปฏิมากรไว้สำหรับเป็นองค์อนุสรณ์ แทนองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ให้ผู้สืบอายุพระพุทธศาสนาไว้สักการะ บูชาแก่เทพยดาและมวลมนุษย์ จึงได้เสี่ยงทายว่า จะสร้างด้วยทองคำ หรือเงิน ก็เกรงว่าพวกมิจฉาชีพจะนำไปทำลายเสีย จะมิยั่งยืนตลอดไป ครั้นจะสร้างด้วยแก้วอันศักดิ์สิทธิ์ให้เหมาะสมกับ พุทธรัตนะ ก็ยังมิทราบว่าจะหาลูกแก้วสมดังปณิธานเสี่ยงทายได้ที่ไหน และด้วยทิพยจักษ์โสตร้อนอาสน์ถึงพระอิศวร ทรงทราบความปรารถนาแห่งพระนาคเสนเถรเจ้า ที่จะสร้างพระแก้วมรกตนี้ จึงเสด็จลงมาพร้อมด้วยวิษณุกรรม และจัดนำลูกแก้วมณีโชติ ซึ่งเป็นแก้วชนิดหนึ่งซึ่งมีรัศมีรุ่งโรจน์ ที่ภูเขาวิปุละ ซึ่งกั้นเขตแดนมคธ และอยู่ด้านหนึ่งของ กรุงราชคฤห์ ประกอบด้วย ๑. แก้วมณีโชติ มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๓,๐๐๐ ดวง เฉพาะแก้วมณีโชติ มีขนาดใหญ่ถึงหนึ่งอ้อมเต็ม ๒. แก้วไพฑูรย์ มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๒,๐๐๐ ดวง ๓. แก้วมรกต มีบริวารแวดล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ ดวง เฉพาะแก้วมรกตนี้ มีขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ๓ นิ้ว แก้ววิเศษนี้ มีพวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ ยักษ์มาร และเทพยดารักษาอยู่มาก พระวิษณุกรรมมิอาจที่จะไปนำลูกแก้วดังกล่าวนี้คนเดียวมาได้ จึงได้ทูลเชิญพระอิศวรเจ้าเสด็จร่วมไปด้วย เมื่อถึงเขาวิปุลบรรพตแล้ว พระอิศวรจึงแจ้งให้พวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ และยักษ์ที่รักษาลูกแก้ว ทราบถึงความประสงค์ของพระนาคเสนเถรเจ้า ที่จะนำแก้วมณีโชตินี้ไปสร้างพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นอนุสรณ์แทนองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่พวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ และยักษ์ทูลว่า เฉพาะลูกแก้วมณีโชตินั้นมีอิทธิฤทธิ์มาก เป็นของคู่ควรสำหรับพระมหาจักรพรรดิ์ไว้ปราบยุคเข็ญของโลกเท่านั้น ในเมื่อโลกเกิดจลาจลวุ่นวาย ซึ่งมนุษย์ในสมัยนั้นจะหมดความเคารพยำเกรงซึ่งกันและกัน ก่อการวุ่นวายขึ้น พระมหาจักรพรรดิ์จะได้ใช้แก้วมณีโชตินี้ไว้ปราบยุคเข็ญต่อไป แต่ว่าเพื่อมิให้เสียความตั้งใจและเสื่อมศรัทธา จึงขอมอบถวายลูกแก้วอีกลูกหนึ่ง ซึ่งเป็น "แก้วมรกต" รัศมีสวยงามผุดผ่อง ถวายให้ไปจัดสร้างแทน และพระอิศวรและพระวิษณุกรรม ก็นำแก้วมรกตนี้ไปถวายพระนาคเสนเถรเจ้า แล้วก็เสด็จกลับวิมาน พระนาคเสนเถรเจ้า เมื่อได้รับลูกแก้วมรกตแล้ว ก็รำพึงถึงช่างที่จะมาทำการสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วสีมรกต ให้มีพุทธลักษณะสวยงามประณีต วิษณุกรรมซึ่งเป็นนายช่างธรรมดาทราบความดำริของพระนาคเสน จึงแปลงกายเป็นมนุษย์เข้าไปหาพระนาคเสน รับอาสาสร้างพระพุทธรูปตามประสงค์ของพระนาคเสนเถรเจ้า เมื่อได้รับอนุญาตจากพระนาคเสนแล้ว วิษณุกรรมจึงลงมือสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมรกตสำเร็จลงด้วยอิทธิฤทธิ์ สำเร็จภายใน ๗ วัน เนรมิตพระวิหารและเครื่องประดับ สำหรับประดิษฐานรองรับพระพุทธรูปแก้วมรกต วิษณุกรรมก็กลับไปสู่เทวโลก และพระพุทธรูปแก้วมรกตที่สร้างสำเร็จโดยช่างวิษณุกรรมนี้ มีพุทธลักษณะอันสวยงาม มีรัศมีออกเป็นสีต่างๆ หลายสีหลายชนิด ฉัพพรรณรังษีพวยพุ่งออกจากพระวรกาย เทพบุตร เทพธิดา ท้าวพระยาสามนตราช พระอรหันตขีณาสพ สมณะ ชีพราหมณ์ ตลอดประชาชนทั่วไปเมื่อได้เห็นพุทธลักษณะพระแก้วมรกตแล้ว ต่างก็พากันแซ่ซ้องถวายสักการะ บูชา พระนาคเสนเถรเจ้าพร้อมด้วยพวกเทพยดา นาค ครุฑ มนุษย์ กุมภัณฑ์ พากันตั้งสัตยาอธิษฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกตรวม ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬีพระองค์หนึ่ง, ในพระนลาตพระองค์หนึ่ง, ในพระอุระพระองค์หนึ่ง, ในพระอังสาทั้งสองข้างสองพระองค์ และในพระชานุทั้งสองข้างสองพระองค์ เมื่อพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ เข้าไปประดิษฐานเรียบร้อยทั้ง ๗ แห่ง เนื้อแก้วมรกตแล้ว เนื้อแก้วก็ปิดสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยแผลและช่องพลันก็เกิดปาฏิหาริย์ แผ่นดินไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระพุทธรูปแก้วได้ยกฝ่าพระบาทดุจดังเสด็จลงจากแท่นประดิษฐาน เมื่อเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นดังนี้ พระนาคเสนเถระทำนายว่า พระแก้วมรกตนี้จะมิได้ประดิษฐานในเมืองปาฏลีบุตรแน่ ต้องเสด็จเที่ยวโปรดเวไนยสัตว์ในประเทศ ๕ คือ ๑. ลังกาทวีป ๒. ศรีอยุธยา ๓. โยนก ๔. สุวรรณภูมิ ๕. ปะมะหล เมื่อพระนาคเสนเถรเจ้าดับขันธ์แล้ว พระแก้วมรกตนี้ คงได้รับการปกปักรักษา สักการะ บูชาเป็นเวลาต่อมาอีก ๓๐๐ ปี เมืองปาฏลีบุตรสมัยพระสิริกิติราชดำรงเป็นประมุข เกิดจลาจลวุ่นวาย เกิดสงครามมิได้ขาด ข้าศึกต่างเมืองยกมารบกวน เสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ ก่อการกบฏ ราษฎร์วานิชเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า สุดที่จะทนทาน ประชาชนวานิช พร้อมใจกันพาพระแก้วมรกตพร้อมด้วยพระไตรปิฎก ลงสำเภาหนีออกจากเมืองปาฏลีบุตรไปสู่ลังกาทวีป พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานประมาณ ๒๐๐ ปี (พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๑,๐๐๐ ปี) ครั้นถึงสมัยเจ้าอนุรุธราชาธิราช กษัตริย์ของพุกามประเทศ (พม่า) กับพระภิกษุรูปหนึ่งลงสำเภาไปสู่ลังกาทวีป พร้อมด้วยพระสงฆ์พุกามอีก ๙ รูป อำมาตย์พุกาม ๒ คน ของพุกาม ได้ขอบรรพชาต่อพระสังฆราชลังกาทวีป พระภิกษุรูปที่เป็นหัวหน้าของพุกามชื่อพระศีลขัณฑ์ ร่วมมือกันสังคายนาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัธทาวิเศษเป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะกลับพุกาม ได้ทูลขอ "พระแก้วมรกต" ต่อประมุขของกรุงลังกาทวีป พระองค์จนพระทัย จึงต้องมอบพระแก้วมรกตให้กับกษัตริย์กรุงพุกามไป ทำความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวเมืองปาฏลีบุตรทั่วลังกาทวีป เมื่อกษัตริย์กรุงพุกามได้รับพระแก้วมรกตเรียบร้อยแล้ว จึงจัดขบวนเรือสำเภาอัญเชิญพระแก้วมรกตลงสำเภาสองลำ แต่เมื่อสำเภาแล่นมาในทะเล สำเภาที่อัญเชิญพระแก้วมรกต เกิดพลัดหลงทางไปสู่เมืองอินทปัตถ์พร้อมทั้งพระไตรปิฎก พระเจ้ากรุงพุกามเสียพระทัยมาก เพราะตั้งพระทัยไว้ว่า จะจัดเฉลิมฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ในกรุงพุกาม เมื่อเหตุการณ์กลับกลายไป จึงปลอมพระองค์เป็นราษฎรสามัญไปสู่กรุงอินทปัตถ์ เพื่อสืบหาเรือสำเภาที่อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระไตรปิฎก และขอพระแก้วมรกตคืนจากพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ก็ไม่ยอมคืนให้ เพราะถือว่าเป็นบุญญาธิการของพระองค์ ที่พระแก้วมรกตได้เสด็จมาสู่กรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงพุกามทรงพิโรธมาก ดำริจะปลงพระชนม์พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ ก็เกรงว่าบาปกรรมจะติดตามตัวต่อไปภายภาคหน้า จึงแสดงอภินิหาริย์ให้ชาวอินทปัตถ์เห็น โดยเอาไม้มาทำเป็นดาบ ทาด้วยฝุ่นดำแล้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศวนรอบเมืองอินทปัตถ์ ๓ ครั้ง สะกดพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และคนหลับทั้งเมือง แล้วเสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เอาดาบที่ทำด้วยไม้ขีดไว้ที่พระศอของพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และมเหสี ตลอดจนเสนาบดีผู้ใหญ่ และตรัสขู่ว่า หากไม่คืนสำเภาที่อัญเชิญพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตให้แล้ว วันรุ่งขึ้นจะบั่นเศียรให้หมดทุกคน พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์และมเหสีทรงทราบเรื่อง และพิสูจน์รอยฝุ่นดำที่พระศอ ก็พบว่ามีรอยฝุ่นดำจริงตามดำรัสของพระเจ้ากรุงพุกาม มีความหวั่นเกรงต่อชีวิตของพระองค์และราชบริพารเป็นอันมาก ให้อำมาตย์ ๒ คน กราบทูลพระเจ้ากรุงพุกามทราบว่า หากเป็นสำเภาอัญเชิญพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตของพุกามจริง ก็จะจัดถวายส่งคืนให้ ขอให้พระเจ้ากรุงพุกามเสด็จกลับยังกรุงพุกามก่อน พระเจ้ากรุงพุกามก็ยินยอม กาลต่อมา เมื่อสำเภาลำที่หายไปก็มาถึงกรุงพุกาม ตรวจสอบแล้วมีแต่พระไตรปิฎกอย่างเดียว หามีพระแก้วมรกตไม่ พระเจ้ากรุงพุกามทรงทราบดีว่า พระเจ้ากรุงอินทปัตถ์มีพระประสงค์จะได้พระแก้วมรกตไว้สักการะ บูชาในกรุงอินทปัตถ์ พระเจ้ากรุงพุกามก็มิได้คิดอะไรอีก พระแก้วมรกตนี้ได้ตกอยู่ ในกรุงอินทปัตถ์มาช้านานจนรัชสมัยพระเจ้าเสนกราช พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง สนพระทัยเที่ยวจับแมลงวันหัวเขียวมาเลี้ยงไว้ และบุตรชายของปุโรหิตคนหนึ่งชอบเล่นแมลงวันหัวเสือ ต่อมาแมลงวันหัวเสือของบุตรชายปุโรหิตกัดแมลงวันหัวเขียวของราชโอรสตาย พระราชโอรสเสียพระทัยและฟ้องพระเจ้าเสนกราชผู้บิดา จนมีรับสั่งให้นำบุตรชายของปุโรหิตไปผูกให้จมน้ำตาย ปุโรหิตผู้พ่อพร้อมด้วยภรรยาพาบุตรชายหนีออกจากเมือง เพราะเห็นว่าพระเจ้าเสนกราชปราศจากความยุติธรรม เอาแต่พระทัยตนเอง พญานาคราชก็โกรธพระเจ้าเสนกราชที่อยุติธรรม ที่สั่งให้เอาบุตรปุโรหิตไปผูกมัดเพื่อให้จมน้ำตาย จึงบันดาลให้น้ำท่วมเมืองอินทปัตถ์ เป็นที่ระส่ำระสายแก่ประชาราษฎร์ยิ่งนัก มีพระเถระรูปหนึ่งไม่ปรากฏนาม ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมด้วยคนรักษา หนีภัยแล่นเรือไปทางทิศเหนือของเมืองอินทปัตถ์ ในราชอาณาจักรไทยขณะนั้น กรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงพระนามว่า พระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงทราบว่ากรุงอินทปัตถ์เกิดกุลียุค น้ำท่วมบ้านเมืองเสียหาย ผู้คนล้มตายมาก ทรงพระวิตกถึงพระแก้วมรกตจะอันตรธานสูญหายไป จึงจัดทัพไปรับพระแก้วมรกตอัญเชิญลงสำเภา พร้อมกับคนรักษากลับสู่กรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในมหาเวชยันต์ปราสาท ประดับตกแต่งด้วยเครื่องสักการะอันประณีต จัดการฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาและประชาราษฎร์ได้ถวายสักการะพระแก้วมรกตตลอดมา และต่อมา พระยากำแพงเพชรได้ลงมากรุงศรีอยุธยา กราบทูลขอพระแก้วมรกตไปสักการะ ณ เมืองกำแพงเพชร ต่อมาโอรสพระองค์หนึ่งมีชนมายุเจริญวัย โปรดให้ไปครองกรุงละโว้ ระลึกถึงพระแก้วมรกตได้ ปรารถนาอยากได้พระแก้วมรกตไว้สักการะ บูชา จึงทูลขอต่อพระมารดา พระมารดามีความรักพระโอรสขัดไม่ได้ จึงทูลขอต่อพระสามี ก็ได้รับอนุญาตให้อัญเชิญไปได้ แต่ให้ไปเลือกเอาเอง เพราะประดิษฐานรวมกับพระแก้วองค์อื่นๆ อีกหลายองค์ พระมารดาและโอรสไม่ทราบว่าพระแก้วมรกตองค์ไหนเป็นองค์ที่แท้จริง จึงให้ไปหาคนเฝ้าประตูรับสั่งคนเฝ้าประตูและให้สินบนช่วยชี้แจง คนเฝ้าประตูรับว่า จะนำดอกไม้สีแดงไปวางไว้บนพระหัตถ์พระแก้วมรกตองค์ที่แท้จริงให้ พระโอรสได้พระแก้วมรกตสักการะ บูชาไว้ ณ เมืองละโว้ เป็นเวลา ๑ ปี ๙ เดือน ก็ต้องอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับเมืองกำแพงเพชรตามข้อตกลง ในขณะนั้น พ.ศ.๑๙๗๗ พระเจ้าพรหมทัตเจ้าเมืองเชียงราย ทรงทราบว่า พระยากำแพงเพชรผู้ทรงเป็นสหายมีพระแก้วไว้สักการะ บูชา ก็ปรารถนาอยากได้สักการะ บูชาบ้าง จึงจัดขบวนรี้พลสู่เมืองกำแพงเพชร พระปิยะสหาย ทูลขออาราธนาพระแก้วมรกตสู่เมืองเชียงราย เมื่อได้แล้วก็ดีพระทัย จัดขบวนเดินทางกลับไปสมโภช ณ เมืองเชียงรายเป็นนิจ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงรายเกรงว่าเมื่อเกิดสงครามขึ้น จะเป็นอันตรายต่อพระแก้วมรกต หวังจะซ่อนเร้นมิให้ศัตรูปัจจามิตรทราบ จึงสั่งให้เอาปูนทาลงรักปิดทองบรรจุเสียมิดชิด ดูประดุจพระพุทธรูปศิลาสามัญ ลำดับต่อมา พระสถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตถูกอสุนีบาตพังทลายลง ชาวเมืองจึงอัญเชิญไปประดิษฐานยังวิหารวัดแห่งหนึ่ง ครั้นต่อมาปูนที่พอกไว้ตรงพระนาสิกกะเทาะออก เห็นแก้วสีเขียว เจ้าอธิการและพระสงฆ์ในวัดนั้น จึงกะเทาะเอาปูนออกเห็นเป็นพระแก้วทึบทั้งองค์ บริสุทธิ์ดี มีรัศมีสุกใสสกาวไม่มีรอยบุบสลายเลย ราษฎรเมืองเชียงรายและหัวเมืองใกล้เคียง จึงพากันไปถวายสักการะมิได้ขาดสาย ความได้ทราบถึงพระเจ้าเมืองเชียงใหม่ จัดขบวนรี้พลช้างม้าเดินทางไปอัญเชิญพระแก้วมรกตสู่นครเชียงใหม่ ครั้นขบวนแห่อัญเชิญมาถึงทางแยกที่จะไปนครลำปางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ก็พาพระแก้วมรกตวิ่งเตลิดไปทางนครลำปาง ควาญช้างได้ปลอบโยนให้หายจากความตื่น ช้างเชือกนั้นก็วิ่งเตลิดพาพระแก้วมรกต กลับหลังวิ่งไปทางนครลำปางอีก ควาญช้างได้พยายามเปลี่ยนช้างเชือกใหม่อีก ช้างตัวใหม่ก็วิ่งไปทางนครลำปางอีก ควาญช้างได้พยายามเล้าโลมเอาอกเอาใจอย่างไร เพื่อจะให้ช้างเดินทางไปนครเชียงใหม่ก็ไม่สำเร็จอีก ท้าวพระยาตลอดจนประชาชนในขบวนแห่พระแก้วมรกต เห็นประสบเหตุการณ์เช่นนั้น จึงส่งใบบอกไปยังพระเจ้าสามแกนเจ้านครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ พระเจ้าเชียงใหม่มีความเลื่อมใสพระแก้วมรกตมาก แต่ก็กริ่งเกรงในพุทธานุภาพพระแก้วมรกต และถือโชคลาง เพราะที่ช้างไม่ยอมเดินทางไปนครเชียงใหม่นั้น คงเป็นด้วยพุทธานุภาพของพระแก้วมรกตไม่ยอมเสด็จมาอยู่เชียงใหม่ จึงอนุโลมให้พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ นครลำปาง ต่อมา พ.ศ.๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอานุภาพมาก ทรงพิจารณาว่า พระแก้วมรกตเป็นสมบัติอันล้ำค่า ไม่สมควรที่จะประดิษฐานอยู่ที่นครลำปางอีกต่อไป จึงได้อาราธนาอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังนครเชียงใหม่ แล้วจัดสร้างพระอารามราชกูฏเจดีย์ถวาย พระเจ้าเชียงใหม่สร้างวิหารให้เป็นปราสาทมียอด แต่ก็หาสมปรารถนาไม่ เพราะอสุนีบาตทำลายหลายครั้งและพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่ ณ นครเชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระราชบิดานางหอสูง เสด็จสวรรคต เมืองเชียงใหม่ไม่มีกษัตริย์จะครองราชย์ ท้าวพระยาเสนาบดีและสมณะ ชีพราหมณ์ จึงพร้อมกันแต่งตั้งราชฑูต พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการไปขอเจ้าราชโอรส อันเกิดจากนางหอสูง มาครองราชสมบัติแทนพระอัยกาต่อไป พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงทราบ จึงโปรดให้เสนาบดีแต่งจตุรงคเสนาพาเจ้าไชยเชษฐา ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ขึ้นไปกระทำพิธีราชาภิเษกตามประเพณี ครองราชสมบัติ ณ นครเชียงใหม่ ทรงนามว่าพระเจ้าศรีไชยเชษฐาธิราช เจ้านครเชียงใหม่ เมื่อเสร็จการราชพิธีราชาภิเษกแล้ว พระเจ้าโพธิสารก็เสด็จกลับคืนมายังกรุงศรีสัตนาคนหุตได้ ๓ ปี ก็สวรรคต เสนาบดีพฤฒามาตย์ผู้ใหญ่ ตลอดจนสมณะ ชีพราหมณ์เห็นว่า ถ้าให้ราชโอรสองค์อื่นครองราชสมบัติ ก็คงจะเกิดแก่งแย่งสมบัติกันขึ้น จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชสมบัติอีกเมืองหนึ่ง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จมาประทับยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วย เพื่อให้พระราชวงศ์และประชาราษฎร์ได้กราบไหว้นมัสการ บางโอกาสเสด็จมาประทับกรุงศรีสัตนาคนหุตเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวเมืองเชียงใหม่คิดว่า พระองค์คงจะไม่เสด็จกลับไปครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้อัญเชิญเชื้อพระวงศ์ขึ้นครองราชย์แทน ทำให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงพระพิโรธมาก กรีฑาทัพยกไปจะตีเมืองเชียงใหม่ แต่พระเจ้าสุทธิวงศ์ทรงทราบข่าวศึกเกรงพระเดชานุภาพ จึงแต่งพระราชสาส์นเครื่องมงคลราชบรรณาการ พร้อมด้วยสาวพรหมจารี ๑๒ คน เลือกเฟ้นเอาที่มีสิริโฉมงดงาม ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ ขอกองทัพพม่ารักษาเมือง พระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดให้ยกกองทัพไปช่วยเมืองเชียงใหม่ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่า จะทำศึกกับเชียงใหม่ ก็เหมือนกับทำศึกกับพม่า จะทำให้เสียไพร่พลตลอดจนเสบียงอาหาร ไม่ชอบด้วยทศพิธราชธรรม และเกรงว่าจะสู้ทัพข้าศึกมิได้ จึงสั่งให้ถอยทัพ พร้อมด้วยอัญเชิญพระแก้วมรกตมาอยู่ในเมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี ลุถึง พ.ศ.๒๑๐๗ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เจ้าเมืองมอญ กำลังเรืองอำนาจ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่าจะสู้มอญไม่ได้ จึงมีดำรัสแก่อนุชาทั้งสองและอำมาตย์แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงว่า ที่ตั้งกรุงศรีสัตนาคนหุตนี้ เป็นถิ่นที่ดอนใกล้ภูเขาใหญ่ ชัยภูมิไม่เหมาะสมจะเป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์ เห็นควรอพยพครอบครัวไปสร้างพระนครใหม่ อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ อันเป็นชัยภูมิอันสมบูรณ์ด้วยภักษาผลาหาร ใกล้กับฝั่งแม่น้ำยิ่งกว่ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อดำริต้องกันทั้งสามพระองค์แล้ว จึงได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เองในเมืองเวียงจันทน์ และได้อาราธนาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร มาประดิษฐานไว้ในปราสาท แต่นั้นต่อมาอีก ๒๑๔ ปี ครั้นถึง พ.ศ.๒๓๒๑ พระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยา ให้รวบรวมไพร่พลที่เหลือจากพม่าโจมตี ตั้งตัวเป็นมหากษัตริย์สืบวงศ์สยาม ตั้งกรุงธนบุรีหัวเมืองชายทะเลขึ้นเป็นพระมหานคร ได้ยกทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต เพื่อประสงค์จะแผ่พระเกียรติยศให้ยิ่งใหญ่ไพศาล และขยายขอบเขตขันธเสมาอาณาจักรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อได้เมืองเวียงจันทน์แล้วได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต กับพระบาง ขึ้นคานหามมายับยั้งอยู่เมืองสระบุรี แล้วแจ้งข้อราชการมีชัยชนะศึก ตลอดจนได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรพระแก้วมรกตนั่ง และพระพุทธปฏิมากรยืนชื่อพระบางมาด้วย เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทราบ ทรงเลื่อมใสศรัทธาปสาทะ ให้ราชบุรุษอาราธนาพระสังฆราชและพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญทั้งปวง จัดกำลังเรือและฝีพายให้ขึ้นไปรับพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี โดยให้เรือพระที่นั่งศรี เป็นเรือพระรับพระแก้วมรกต และเรือที่นั่งกราบรับพระบาง พร้อมด้วยเรือชัยต่างๆ เรือตั้งกัน ๑๖ คู่ เรือรูปสัตว์ ๑๐ คู่ มีเรือเครื่องสูงเศวตฉัตรกลองชนะมโหระทึก ดนตรีประจำทุกลำ แห่ล่องมาเป็นขบวนพยุหยาตรานาวาจนถึงกรุงธนบุรี เชิญพระแก้วมรกตและพระบางประดิษฐานไว้ในโรงภายในพระราชวัง ซึ่งปลูกไว้ริมพระอุโบสถวัดแจ้ง ตั้งเครื่องสักการะ บูชา เป็นมโหฬารดิเรกด้วยเงิน ทอง แก้ว บูชาพระไตรยาธิคุณ และโปรดให้มีการถวายพระพุทธสมโภช มีมหกรรมมหรสพฉลอง เวลากลางคืนจุดดอกไม้เพลิงทุกคืนตลอด ๗ วัน ๗ คืน ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ครั้นพระอุโบสถสร้างเสร็จแล้วจึงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗

การสังเกตุพฤติกรรมโคป่วย

พฤติกรรมปกติ
1.มื่อปล่อยแปลง จะแทะเล็มหญ้าติดต่อกันประมาณ 1-3 ชั่วโมง แล้วหยุดนิ่ง (อาจยืนหรือนอน) ประมาณ 10-20 นาที จากนั้นเริ่มเคี้ยวเอื้อง ประมาณ 10-20 นาที แล้วก็ลงมือแทะเล็มหญ้าสลับกันไป
2.เมื่ออยู่ในคอก จะเคี้ยวเอื้องและหยุดนิ่งสลับกันไป
3.ขณะหยุดนิ่งอาจยืนหรือนอน บางครั้งก็หลับตา แต่หูและหางยังคงกระดิกไล่แมลงตลอดเวลา
4.ในวันหนึ่งๆ โคจะดื่มน้ำ 3-4 ครั้ง ถ้าแปลงหญ้าไม่สมบูรณ์ วัวจะใช้เวลาทะเล็มหญ้ามากที่สุด อาจจะแทะเล็มหญ้าตลอดวัน (ถ้ายังไม่อิ่ม) โดยไม่หยุดพักนิ่งและเคี้ยวเอื้องเลย
5.ปัสสาวะปกติมีสีใส หรือสีเหลืองอ่อนๆ
6.ปกติโคถ่ายอุจจาระวันละประมาณ 8 ครั้ง คือ กลางวัน 5 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้ง รวมอุจจาระหนักประมาณ 4-5% ของ น.น.ตัว ลักษณะอุจจาระขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร ถ้ากินหญ้าอย่างเดียว จะมีสีเขียว กลิ่นไม่เหม็นมาก
7.การเต้นของหัวใจปกติ 60-70 ครั้ง/นาที
8.การหายใจปกติ 15-30 ครั้ง/นาที
9.อุณหภูมิร่างกายโคปกติอยู่ระหว่าง 38-39 องศาเซลเซียส วัดโดยใช้ปรอทสอดที่ทวารหนัก

พฤติกรรมเริ่มป่วย
1.เมื่อปล่อยแปลงจะยืนนิ่งใต้ต้นไม้ตลอดเวลาโดยไม่แทะเล็มหญ้าและไม่เคี้ยวเอื้อง
2.ขณะอยู่ในคอกไม่เคี้ยวเอื้องเลย ไม่แกว่งหางไล่แมลง ยืนหรือนอนซึมตลอดเวลา ไม่ชอบเคลื่อนไหว
3.ปัสสาวะมีสีขุ่น หรือเหลืองเข้ม หรือเหลืองปนเขียว มีเลือดปน
4.อุจจาระเหลว สีแดงหรือมีเลือดปน ถ่ายเป็นมูกหรือเป็นเม็ด มีกลิ่นเหม็นมาก มีพยาธิปน
5.หัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ
6.หายใจหอบ ถี่ หรือหายใจเบาๆ นานๆ ครั้ง
7.อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ

อาหารหยาบ


โคเป็นสัตว์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบเป็นหลัก ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียว่า การเลี้ยงโคเนื้อและโคนมที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ต้นทุนต่ำต้องเลี้ยงด้วยอาหารหยาบเป็นหลัก ควรเก็บอาหารข้นให้สัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบไม่ได้และสามารถใช้อาหารข้นให้เป็นเนื้อได้มีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งได้แก่ สัตว์ปีกและสุกร จะดีกว่า ดังนั้นการเลี้ยงโคเนื้อควรให้อาหารหยาบเป็นหลัก ให้อาหารข้นเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น
อาหารหยาบที่สำคัญสำหรับโคคือหญ้าสด พันธุ์หญ้าที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปปลูกเลี้ยงสัตว์ เช่น หญ้ารูซี่ กินนีสีม่วง หญ้าขน แพงโกล่า เฮมิล ฯลฯ ในฤดูฝนมักมีหญ้าสดเกินความต้องการของโค จึงควรถนอมไว้เป็นอาหารสัตว์ในฤดูแล้งโดยการทำญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก นอกจากหญ้าแล้ว พืชตระกูลถั่ว ยังเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากถั่วส่วนใหญ่มีระบบรากลึกกว่าหญ้าจึงทนแล้งได้ดีกว่า พืชตระกูลถั่วที่กรมปศุสัตว์แนะนำให้ปลูก เช่น ถั่วฮามาต้า แกรมสไตโล คาวาลเคด เซนโตรซีมา ซีราโตร กระถิน แคฝรั่ง ไมยรา ฯลฯ วัสดุพลอยได้จากการปลูกพืชสามารถนำมาใช้เลี้ยงโคได้ เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย มันสำปะหลัง ต้นถั่วลิสง ต้นถั่วเหลือง ฯลฯ ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการเกษตรก็สามารถนำมาใช้ได้ เช่น กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด เป็นต้น

อาหารข้น

อาหารข้น หมายถึง อาหารที่มีความเข้มข้นทางโภชนะอยู่สูง โดยเฉพาะโปรตีน มีเปอร์เซนต์เยื่อใยต่ำ เมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถย่อยได้ง่าย จำแนกเป็น
1) อาหารชนิดเดียว เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพดบด กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากปาล์ม ฯลฯ
2) อาหารข้นสำเร็จรูป ใช้เลี้ยงเสริมกับอาหารหยาบ สามารถนำมาใช้เลี้ยงโคได้เลยโดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำวัตถุดิบอย่างอื่นมาผสมอีก อาจอยู่ในรูปอาหารผงหรืออัดเม็ดก็ได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยรำ ปลายข้าว หรือข้าวโพดบด กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสงหรือกากปาล์ม ปลาป่น ใบกระถินป่น ไวตามิน และแร่ธาตุ
3) หัวอาหาร เป็นอาหารที่ประกอบด้วยอาหารโปรตีนสูงผสมกัน เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ปลาป่น ใบกระถินป่น ไวตามิน และเกลือแร่ เมื่อจะใช้ผู้เลี้ยงจะต้องนำวัตถุดิบอย่างอื่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ให้พลังงานสูงที่สามารถหาง่ายในท้องถิ่นมาผสมตามสัดส่วนที่ผู้ผลติหัวอาหารกำหนดไว้จึงจะได้คุณค่าทางอาหารตามที่ต้องการ วัตถุดิบที่ต้องนำมาผสม เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพดบด ฯลฯ
4) อาหารสำเร็จรูป "ที เอ็ม อาร์ (TMR หรือ total mixed ration)" เป็นอาหารผสมระหว่างอาหารหยาบและอาหารข้น สามารถนำไปใช้เลี้ยงโคได้เลยโดยไม่ต้องให้อาหารหยาบอีก เช่น หญ้าสด เหมาะสำหรับฟาร์มที่หาอาหารหยาบได้ยาก
การให้อาหารข้นเสริมจะทำให้โคลดการกินหญ้าลง นอกจากเมื่อขาดแคลนหญ้าหรือหญ้ามีโปรตีนต่ำเท่านั้นจึงควรให้อาหารข้น เมื่อเริ่มให้อาหารข้นอาจมีโคบางตัวยังไม่ยอมกินอาหารข้น ควรจะให้แน่ใจว่าโคทุกตัวกินอาหารข้นแล้วจึงค่อยเพิ่มอาหาร ถ้าให้อาหารข้นมากไปจะทำให้โคย่อยอาหารหยาบได้น้อยลง โดยทั่วไปไม่ควรให้กินเกินวันละครั้ง (นอกจากโคขุน) เพราะถ้าให้หลายครั้งโดยให้ครั้งละน้อยๆ โคบางตัวจะแย่งกินอาหารไม่ทัน การให้อาหารควรให้เวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนเวลาให้อาหารอาจทำให้ระบบทางเดินอาหารของโคผิดปกติอย่างรุนแรงได้

การเลือกซื้อโค

ประเภทโคที่จะซื้อ
โคที่จะซื้ออาจเป็นโคสาวที่ยังไม่ได้รับการผสมพันธุ์ โคสาวตั้งท้อง แม่โคที่เคยให้ลูกแล้ว แม่โคท้อง หรือแม่โคลูกติด หากซื้อโคสาวอาจราคาถูกแต่ไม่แน่ว่าอาจมีปัญหาการผสมติดหรือไม่ หากซื้อแม่โคท้องหรือมีลูกติดก็แน่ในได้ว่าไม่มีปัญหาด้านการผสมติด แต่ราคาสูงกว่า การขนส่งแม่โคท้องต้องระมัดระวังไม่ให้แท้ง และควรสอบถามว่าพ่อพันธุ์ของลูกในท้องเป็นพันธุ์ใด จะได้ต่อรองราคาให้เหมาะสมได้ การประมาณอายุว่าเป็นโคสาวหรือโคแก่หรือไม่ ดูได้จากฟันของโค โคจะมีเฉพาะฟันล่างเท่านั้น ฟันของโคมีทั้งฟันหน้าและฟันกรามดูได้ยาก โคมีฟัน 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม เป็นพันชุดแรกที่งอกในลูกโค จะงอกครบ 8 ซึ่ (4 คู่) ภายใน 1 เดือนหลังคลอดและคงอยู่ต่อไปจนโคอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดไปแล้วฟันแท้งอกขี้นมาแทน ฟันแท้คู่แรกจะมาแทนเมื่อโคอายุ 2 ปี การงอกของทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้จะเริ่มจากคู่กลางก่อน คู่ที่ 2, ล และ 4 จะอยู่ถัดออกไปทั้ง 2 ข้าง ตามลำดับ การประมาณอายุโคดูได้จากฟันแท้ตามภาพ ในภาพฟันสีขาวเป็นฟันน้ำนม ฟันสีเข้มเป็นฟันแท้
1) ฟันน้ำนม 2 ซี่ อายุแรกเกิด - 7 วัน

2) ฟันน้ำนม 4 ซี่ อายุ 8 - 14 วัน
3) ฟันน้ำนม 6 ซี่ อายุ 15 - 21 วัน
4) ฟันน้ำนมขึ้นครบทั้ง 8 ซี่ อายุ 22 วัน - 4 เดือน หากฟันแท้ยังไม่ขึ้น อายุไม่เกิน 8 เดือน หรือ 1 ปีครึ่ง
5) ฟันแท้ 1 ถึง 2 ซี่ อายุไม่เกิน 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง
6) ฟันแท้ 3 ถึง 4 ซี่ อายุไม่เกิน 36 เดือน หรือ 3 ปี
7) ฟันแท้ 5 ถึง 7 ซี่อายุไม่เกิน 42 เดือน หรือ 3 ปีครึ่ง
8) ฟันแท้ 8 ซึ่ อายุมากกว่า 3 ปีครึ่ง หากสึกมาแล้ว มีช่องว่างระหว่างฟันแต่ละซี่ อายุประมาณ 12 ปี
ภาพการประมาณอายุโคโดยการดูฟัน

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การเลี้ยงแม่โคระยะต่างๆ

การเลี้ยงแม่โคให้มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผสมติดของแม่โค และทำให้แม่โคให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการอาหารของแม่โคระยะต่างๆ แตกต่างกัน การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสามารถจำแนกออกเป็นระยะต่างๆ ตามความต้องการอาหารของโคได้ 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1
จากคลอดลูก ถึง 3-4 เดือนหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะผสมพันธุ์จนถึงตั้งท้อง

ระยะที่ 2
ท้อง 4 - 6 เดือน

ระยะที่ 3
ท้อง 3 เดือนก่อนคลอด เป็นระยะที่แม่โคท้องแก่จนถึงคลอดลูก แม่โคระยะที่ 1 จะมีความต้องการอาหารคุณภาพดีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ระยะที่ 3

ระยะนี้เป็นระยะก่อนผสมพันธุ์ เมื่อผสมติดแล้วจะเริ่มตั้งท้องและแม่โคยังผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกที่ยังติดแม่อยู่ การให้อาหารมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับแม่โคระยะนี้ เพราะแม่โคต้องการอาหารสำหรับฟื้นฟูระบบอวัยวะสืบพันธุ์และผลิตน้ำนมดังกล่าว
การให้อาหาร
ระยะจากคลอดลูกถึงผสมพันธุ์ หากแม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะทำให้การผสมติดดีขึ้นและลดระยะห่างของการให้ลูกลง แต่การทำให้โคเพิ่มน้ำหนักโดยให้อาหารข้นเสริมต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าให้แม่โคได้กินหญ้าอ่อนในแปลง 3-4 สัปดาห์ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ แม่โคจะเริ่มทำน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีการผสมพันธุ์ดีขึ้น เมื่อแม่โคคลอดแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตารางที่ 2 เป็นการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ตารางที่ 1 ตัวอย่างปริมาณการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องโดยให้อาหารหยาบเป็นหลัก
ฤดูฝน
ฤดูแล้ง
หญ้าสด อาหารข้น
30 ก.ก./ตัว1.8 ก.ก./ตัว
หญ้าหมักอาหารข้น
30 ก.ก./ตัว1.8 ก.ก./ตัว
ฟางข้าวรำหยาบอาหารข้น
6 ก.ก./ตัว1.5 ก.ก./ตัว2.7 ก.ก./ตัว
หมายเหตุ : อาหารข้นโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14%, คิด น.น.แม่ 400 ก.ก. กินวัตถุแห้ง (dry matter) 8.9 ก.ก.
การผสมพันธุ์
เมื่อคลอดแล้วปกติแม่โคจะกลับเป็นสัดอีกภายใน 30 - 50 วัน แต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40 วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัว แม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง แม่โคจะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะที่เป็นสัดซึ่งเป็นระยะที่แม่โคจะแสดงอาการมีอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะยอมให้ผสม แม่โคที่เป็นสัดจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะบวมกว่าปกติ ผนังด้านในช่องคลอดเมื่อใช้เมือเปิดออกดูจะมีสีชมพูออกแดง ในช่วงต้นของการเป็นสัดอาจมีเมือกใสๆ ไหลออกมาก ในช่วงหลังๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น แม่โคจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 24 - 36 ช.ม. ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด อีกประมาณ 20 - 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นสัดของโคเฉลี่ย 21 วัน แต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18 - 24 วัน อีก 5% เป็นสัดก่อน 18 วัน และ 11% เป็นหลัง 24 วัน การเก็บประวัติการเป็นสัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม
วิธีการผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์โค มีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมเอง แต่มีข้อเสียคือ ถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไข โดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้า แล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก ในพ่อโคอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 - 30 แม่/พ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 - 25 ตัว/พ่อโค 1 ตัว ในทุกๆ วันที่ปล่อยแม่โคออกไปในทุ่งหญ้า ควรขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งหญ้าและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้าด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อน การขังพ่อโคไว้ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น
2. การจูงผสม เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหาก เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หากมีการเลี้ยงดูที่ดี เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 - 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูงอาจะไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัว สามารถใช้คุมฝูงได้ 25 - 50 ตัว ดังที่กล่าวมา หากอยู่นอกเขตบริการผสมเทียม จึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการให้การผสมบ้าง เพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์ แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ (หรือโรคบรูเซลโลซีส) ดังนั้น พ่อโคและแม่โคของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รบัการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะแพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย
3. การผสมเทียม
เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก (cervic) เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อในมดลูกของแม่โค

การผสมเทียมมีข้อดี คือ

1)
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อและเลี้ยงโคพ่อพันธุ์

2)
ในกรณีฟาร์มปรับปรุงพันธุ์ที่ต้องใช้พ่อพันธุ์คุมฝูงละตัว ต้องแบ่งแปลงหญ้าตามจำนวนฝูงดังกล่าว แต่ถ้าใช้ผสมเทียม ไม่จำเป็นต้องแบ่งแปลงมากขนาดนั้น

3)
สามารถเก็บสถิติในการผสมและรู้กำหนดวันคลอดที่ค่อนข้างแน่นอน

4)
สามารถใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีจากที่ต่างๆ ได้สะดวก ทำให้ความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์เร็วขึ้น

5)
ถ้าใช้ควบคู่กับฮอร์โมนควบคุมการเป็นสัด จะทำให้การจัดการเกี่ยวกับการผสมสะดวกขึ้น

ข้อเสียของการผสมเทียม คือ

1)
ต้องใช้แรงงานสังเกตการเป็นสัดหรือใช้โคตรวจจับการเป็นสัด

2)
ต้องใช้คอกและอุปกรณ์ในการผสมเทียม เสียเวลาต้อนแยกโคไปผสมในขณะที่มีลูกติดแม่โคอยู่

3)
แปลงเลี้ยงควรใกล้บริเวณผสมเทียม มิฉะนั้นจะเสียเวลาต้อนโคจากแปลงที่ไกล

4)
เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างคนหรือฝึกอบรมคนผสมเทียมของฟาร์มเอง

5)
อัตราการผสมติดขึ้นอยู่กับความสามารถในการตรวจจับการเป็นสัดและความชำนาญของคนผสม

6)
เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเชื้อ
ในบางอำเภอที่กรมปศุสัตว์มีหน่วยผสมเทียมไว้บริการแก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ โดยไม่คิดมูลค่า เกษตรกรที่สนใจจะใช้บริการผสมเทียม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
การผสมเทียมจะต้องนำโคเข้าไปในซองจึงจะผสมเทียมได้สะดวก ซองที่ใช้ผสมเทียมไม่ควรเป็นซองหนีบที่ใช้ฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ตีเบอร์ หรือตัดเขา เพราะโคจะจำประสบการณ์เหล่านี้ได้จึงกลัวที่จะเข้าซอง สำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อความสะดวกในการผสมเทียม อย่างน้อยควรจัดทำซองผสมเทียม (ตามภาพ) ไว้ประจำคอกหรือภายในหมู่บ้าน เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำการผสมเทียมควรมีคนคอยช่วยอย่างน้อย 2 คน แม่โคที่ผสมแล้วควรกักไว้ในคอกที่มีร่ม จะทำให้มีโอกาสผสมติดดีขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แม่โคตากแดดหรือวิ่งไปในแปลงหญ้าหรือท้องทุ่ง เพราะจะทำให้ร่างกายแม่โคมีอุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสผสมติดจะน้อยลง แม่โคควรอยู่ในคอกหรือในแปลงที่สะดวกต่อการนำโคมาผสมเทียม แม่โคควรถูกแยกไปผสมเทียมต่อเมื่อแสดงอาการยืนนิ่งเม่อถูกขึ้นทับแล้วเท่านั้น หากปล่อยให้อยู่ในฝูงนานเกินไป จะถูกตัวอื่นขึ้นทับมากอาจทำให้แม่โคบาดเจ็บหรือเหนื่อยอ่อน มีผลทำให้ผสมติดต่ำ หลักการก็คือแยกแม่โคออกจากฝูงอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนผสม ในระหว่างผสมควรทำให้แม่โคมีอาการสงบ ไม่ตื่นกลัว การแยกแม่เข้าคอกผสมก่อน 3 ชั่วโมงจะช่วยให้แม่โคสงบ ถ้ามีลูกติดให้ลูกมาอยู่ด้วยจะทำให้แม่โคสงบมาขึ้น การให้โคได้กินหญ้าหรือให้อาหารตามปกติภายในคอกผสมจะช่วยให้แม่โคสงบได้เร็วขึ้น หากต้องใช้บริการผสมเทียมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนนอกฟาร์ม ควรใช้หลักเกณฑ์คือ "เห็นการเป็นสัดเช้าให้ผสมในช่วงบ่าย 3-4 โมง เห็นการเป็นสัดบ่ายควรผสมในช่วงเช้า 7-8 โมง และเห็นการเป็นสัดตอนเย็นควรผสมก่อนเที่ยงวัน" แต่หากเห็นการเป็นสัดช่วงประมาณเที่ยงคืนถึงตี 4 ควรผสมในเช้าวันนั้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการผสมติดคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากเริ่มเป็นสัดแต่เวลาที่โคเริ่มเป็นสัดเราอาจะไม่สังเกตเห็น ฟาร์มที่ผสมเทียมเองหรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผสมเทียมได้สะดวกก็สามาถใช้วิธีการตามตารางที่ 2 โดยต้องรู้เวลาระหว่างที่เราสังเกตเห็นแม่โคเป็นสัดกับระยะที่แม่โคยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขึ่ (standing heat) แล้วนำช่วงเวลาดังกล่าวไปหาเวลาที่ควรผสมหลังจากที่เห็นแม่โคยืนนิ่ง
ตารางที่ 2 เวลาเหมาะสมที่สุดในการผสมเทียม
เวลาระหว่างที่เห็นการเป็นสัดกับเมื่อเห็นแม่โคยืนนิ่งให้ทับ ชม.
เวลาที่ควรผสมหลัง ชม.จากเห็นแม่โคยืนนิ่ง
ระหว่าง
เวลาที่เหมาะที่สุด
369121518
9-179-149-118-975-6
1210.5108.575.5
แม่โคที่ผสมติดยากโดยผสมเทียมแล้ว 3 ครั้งไม่ติด ครั้งต่อๆ ไป ควรผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ หากผสมหลายครั้งแล้วไม่ติดควรคัดแม่โคขายทิ้งไปเสีย
การตั้งท้องและการกลับเป็นสัด
หลังจากแม่โคได้รับการผสมพันธุ์จนติดแล้วตั้งท้องเฉลี่ยประมาณ 282 วัน (274 ถึง 291 วัน) ผู้เลี้ยงควรจดบันทึกวันที่ผสม แล้วอีกประมาณ 21 วันต่อไปตอ้งคอยสังเกตดูว่าแม่โคกลับเป็นสัดอีกหรือไม่ หากกลับเป็นสัดแสดงว่าผสมไม่ติดต้องผสมใหม่ หากไม่กลับเป็นสัดแสดงว่าผสมติดแล้ว แต่อีกทุกๆ 21 วันต่อไป ควรคอยสังเกตอีกเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น การตรวจทอ้งเพื่อดูว่าแม่โคได้รับการผสมติดจนตั้งท้องจริงหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการคลำตรวจดูมดลูกและรังไข่ผ่านทางทวารหนักตั้งแต่แม่โคตั้งท้องได้ 2-3 เดือน ขึ้นไป ต้องใช้ผู้ที่มีความสามารถและมีประสบการณ์เป็นผู้ตรวจให้เท่านั้น ในปัจจุบันอาจใช้วิธีตรวจหาระดับฮอร์โมนในเลือดหรือในน้ำนมก็สามารถบอกไวด้ว่าตั้งท้องหรือไม่ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการในการตรวจ จึงยังไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับสภาพการเลี้ยงทั่วไป แม่โคที่ไม่ท้องควรคัดออกแล้วเอาโคสาวที่ผสมติดเร็วแทน

เป็นระยะที่ลูกโคโตเต็มที่แล้วและเตรียมตัวหย่านม หากลูกโคกินหญ้าและอาหารได้เก่งแล้ว แม่โคก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น ระยะนี้ความต้องการอาหารเพื่อเลี้ยงลูกในท้องยังน้อยอยู่ แม่โคจึงต้องการอาหารน้อยกว่าระยะอื่น สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยให้อาหารคุณภาพต่ำได้ ถ้าให้อาหารคุณภาพดีอาจทำให้แม่โคอ้วนเกินไป แต่ก็ควรระวังอย่าให้แม่โคผอม ควรมีไขมันสะสมอยู่บ้าง ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากได้ให้อาหารแม่โคอุ้มท้องตามตารางที่ 3 โดยในฤดูฝนให้หญ้าสดเป็นหลัก ให้อาหารข้นเสริมบ้างตามสภาพของแม่โค ฤดูแล้งให้หญ้าหมักเป็นหลักเสริมด้วยอาหารข้นตัวละประมาณ 2 ก.ก. นอกจากมีหญ้าหมัดไม่เพียงพอก็ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยรำหยาบและอาหารข้น อาหารข้นที่เสริม อาจปรับใช้ตามวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและให้มีราคาถูกที่สุดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยคำนวณให้มีโภชนะหรือคุณค่าทางอาหารได้ตามความต้องการของแม่โค ตารางที่ 3 การให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก
ฤดูฝน
ฤดูแล้ง
หญ้าสด อาหารข้น(ขึ้นกับสภาพแม่โค หากสมบูรณ์ดีก็ไม่ต้องเสริมอาหารข้น)
30 ก.ก./ตัว0.7-1ก.ก./ตัว
หญ้าหมักอาหารข้น
30 ก.ก./ตัว2 ก.ก./ตัว
ฟางข้าวรำหยาบอาหารข้น
6 ก.ก./ตัว2 ก.ก./ตัว1.8 ก.ก./ตัว
หมายเหตุ : อาหารข้นโปรตีนไม่ต่ำกว่า 14%, คิด น.น.แม่ 500 ก.ก. กินวัตถุแห้ง (dry matter) 10.1 ก.ก.

เป็นระยะที่สำคัญอีกระยะหนึ่งของแม่โค เพราะเป็นระยะที่ลูกในท้องเจริญเติบโตถึง 70-80% และแม่โคเตรียมตัวให้นมด้วย ถ้าให้อาหารคุณภาพไม่ดี แม่โคจะสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้การกลับเป็นสัดหลังคลอดช้าลง มีผลทำให้ไม่ได้ลูกปีละตัว ระยะนี้ควรให้แม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยน้ำหนักที่จะสูญเสียเมื่อคลอด โดยเฉพาะโคสาวเป็นสิ่งจำเป็นมาก
การให้อาหาร
แม่โคท้องใกล้คลอดจะกินอาหารน้อยกว่าเมื่อไม่ท้อง 12-13% แต่การกินอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังคลอด ดังนั้นระยะนี้จึงจำเป็นต้องให้อาหารคุณภาพดี หรือหากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมเพื่อชดเชยจำนวนอาหารที่แม่โคกินน้อยลง ถ้าให้อาหารพลังงานไม่เพียงพอจะมีผลทำให้อัตราการผสมติดต่ำ อัตราการตายของลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมสูง น้ำหนักลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมต่ำ ดังนั้น ควรแยกเลี้ยงดูต่างหาก ให้โคได้กินอาหารคุณภาพดีและทำให้แม่โคฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็ว
การคลอด
ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 282 วัน (274-291 วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด

ลูกโคที่คลอดปกติจะเอาเท้าหน้าโผล่หลุดออกมาก่อน แล้วตามด้วยจมูก ปาก หัว ซึ่งอยู่ระหว่างขาหน้า 2 ขา ที่โผล่ออกมาในท่าพุ่งหลาว การคลอดท่าอื่นนอกจากนี้เป็นการคลอดที่ผิดปกติอาจต้องให้ความช่วยเหลือ ควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ดำเนินการ แม่โคส่วนใหญ่ไม่จำเป็นการช่วยในการคลอด ควรอยู่ห่างๆ ไม่ควรรบกวนแม่โค แม่โคควรคลอดลูกออกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำปรากฎออกมา หากช้ากว่านี้ควรให้การช่วยเหลือ หากไม่คลอดภายใน 4 ชั่วโมง ลูกจะตาย หลังจากคลอดลูก 8-12 ชั่วโมง ถ้ารกยังไม่หลุดออกมาแสดงว่ารกค้าง ต้องให้สัตวแพทย์มาล้วงออกและรักษาต่อไป

การจัดการเลี้ยงดู
เมื่อลูกโคคลอดควรให้ความช่วยเหลือโดยเช็ดตัวให้แห้ง จัดการเอาน้ำเมือกบริเวณปากและจมูกออกให้หมด จับขาหลังยกให้ลูกโคห้อยหัวลงตบลำตัวเบาๆ จนลูกโคร้อง หากลูกโคหายใจไม่สะดวกอาจต้องช่วยหายใจด้วยการเป่าปาก เมื่อลูกโคยืนได้ ให้ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 3 - 6 ซ.ม. ใช้กรรไกรที่สะอาดตัดแล้วใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีนชุบสายสะดือ คอยดูให้ลูกโคได้กินน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุด เพราะนมโคระยะแรกที่เรียกว่า นมน้ำเหลือ จะมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ถ่ายทอดมาสู่ลูก หากลูกโคไม่สามารถดูดนมกินเองได้ควรรีดนมจากแม่มาป้อนให้ลูกกินจนแข็งแรง ไม่ควรปล่อยให้แม่และลูกโคไปตามฝูง ควรจัดหาอาหารและน้ำดื่มกักไว้แยกต่างหากจากฝูงจนกว่าลูกโคจะแข็งแรงดีแล้วจึงปล่อยตามฝูง
การคลอด
ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 282 วัน (274-291 วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด

การปฏิบัติเลี้ยงดูลูกโคอื่นๆ ควรทำดังนี้

1)
ฝูงที่มีโคจำนวนมากคนเลี้ยงอาจจำโคได้ไม่หมดจึงควรติดเบอร์หูหรือทำเครื่องหมายลูกโคโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดทำประวัติโคในฝูงปรับปรุงพันธุ์ควรชั่งน้ำหนักแรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
เบอร์หูโคแบบพลาสติก
2)
เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และถ่ายซ้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจสุ่มหาไข่พยาธิดูก่อนก็ได้
3)
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ (บรูเซลโลซีส) แก่ลูกโคเพศเมีย อายุ 3 - 8 เดือน แล้วเจาะรูที่หูข้างขวาของโค 2 รู
เมื่อลูกโคอายุ 3 - 8 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคแท้งให้กับลูกโคเพศเมียทุกตัว
เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย
การให้อาหารข้นเสริมแก่ลูกโคเล็ก (creep feed)
ลูกโคจะเริ่มหัดกินหญ้าและอาหารเมื่ออายุประมาณ 2 - 3 เดือน เนื่องจากแม่โคจะให้นมได้สูงสุดในระยะนี้ หลังจากนี้จะเริ่มผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูกโคลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ลูกโคเติบโตขึ้นทุกวัน ลูกโคจึงจำเป็นต้องกินอาหารอื่นทดแทน ลูกโคที่กินหญ้าและอาหารได้เร็วก็จะเติบโตได้เต็มที่ การให้อาหารข้นเสริมจะทำให้ลูกโคโตเร็วขึ้น มีน้ำหนักหย่านมสูงกว่าเมื่อไม่ได้ให้อาหาร ลูกโคอายุต่ำกว่า 3 เดือน ให้กินอาหารได้เต็มที่ แต่ถ้าอายุมากกว่า 3 เดือน ควรเพิ่มอาหารให้ทีละน้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกโคทุกตัวเริ่มกินอาหาร แต่ถ้าลูกโคมีขนาดต่างกัน อาจจำเป็นต้องแยกกลุ่มลูกโคตามขนาด ที่ให้อาหารลูกโคควรอยู่ใกล้กับบริเวณคอกแม่โคอยู่เพื่อที่ลูกโคจะได้เข้าไปลองกินอาหารได้สะดวก โดยทำช่องให้ลูกโคลอดเข้าไปกินอาหารได้กว้างประมาณ 400 - 450 มม. พื้นที่บริเวณให้อาหารประมาณ 30 ซ.ม./3 ตัว ให้อาหารข้นโปรตีนมากกว่า 20% ให้กินตัวละประมาณ 600 - 800 กรัม

การทำลายเขาโค
การมีเขาของโคไม่ได้มีผลดีทางเศรษฐกิจและอาจทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น

1)
เกิดอันตรายต่อผู้เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง

2)
โคมักขวิดกันเอง ทำให้เกิดบาดแผล เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการรักษา

3)
โคบางตัวอาจมีเขายาวโง้งเข้ามาทิ่มแทงใบหน้าหรือตาตนเองได้

4)
อาจเกิดอุบัติเหตุเขาเข้าไปติดหรือขัดกับคอก อาจทำให้ถึงตายได้

5)
โคบางตัวเขากางออก ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่รางอาหาร คอก และการขนส่ง
การทำลายเขาโคยิ่งทำเมื่ออายุน้อยเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะจะลดความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เกิดขึ้น การจับยึดก็ทำได้ง่าย การทำลายเขาลูกโคมีวิธีการต่างๆ เช่น
1. ใช้สารเคมี ส่วนใหญ่ใช้โซดาไฟ อาจใช้แบบแห้งที่มีรูปแบบเหมือนชอล์คเขียนกระดาน หรือใช้แบบของเหลวข้นคล้ายยาสีฟันก็ได้ ควรทำเมื่อลูกโคอายุไม่เกิน 10 วัน ตัดขนบริเวณรอบๆ ปุ่มเขาออก ใช้ขี้ผึ้งหรือจารบีทารอบๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โซดาไฟไหลเยิ้มไปถูกบริเวณอื่น ทาเป็นวงกว้างๆ ถ้าเป็นโซดาไฟชนิดแห้งต้อทำให้ปุ่มเขาชื้นเล็กน้อยแล้วเอาแท่งโซดาไฟถูบริเวณปุ่มเขาจนมีเลือดซึมเล็กน้อย ใช้เวลาประมาณ 15 วินาที ถ้าเป็นโซดาไฟชนิดเหลวข้นต้องขูดปุ่มเขาเล็กน้อยให้เป็นรอยเพื่อเอาไขมันที่ปกคลุมอยู่ออก แล้วเอาโซดาไฟเหลวทาบนปุ่มเขา ในพื้นบ้านใช้ปูนแดงกับสบู่กรดในปริมาณเท่าๆ กัน กวนผสมน้ำจนเหลวคล้ายยาสีฟัน ใช้แทนโซดาไฟเหลว แยกลูกโคออกจากแม่อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้แม่เลียออก หลังจากทาแล้ว 2 - 3 วัน ปุ่มเขาจะเกิดสะเก็ดหนา ภายใน 10 วัน สะเก็ดจะหลุดออกไม่มีแผลเปิด แต่ถ้าใช้สารเคมีมากเกินไปหรือถูแท่งโซดาไฟแรงเกินไป หรือสะเก็ดขูดลอกออกก็อาจมีแผลได้ ให้ทำการรักษาแผล
2. ใช้ความร้อนทำลาย
ทำได้กับลูกโคที่อายุประมาณ 3 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน ใช้เหล็กหรือวัสดุที่ประดิษฐ์เป็นรูปทรงกระบอก ตรงปลายบุ๋มโค้งเข้าเพื่อให้ครอบสนิทกับปุ่มเขา จับลูกโคให้มั่นแล้วตัดขนบริเวณปุ่มเขา นำที่จี้เขาไปเผาไฟจนร้อนจัดแล้วนำมาจี้โดยหมุนวนไปเรื่อยๆ ปุ่มเขาที่โผล่ขึ้นมาเล็กน้อย แต่ไม่กดเช่นเดียวกับการตีเบอร์ ใช้เวลาประมาณ 3 วินาทีขึ้นอยู่กับปุ่มเขา หากเป็นเขาที่งอกออกมาหนาแล้ว ควรใช้มีดคมๆ ปาดออกก่อนแล้วจึงจี้ซ้ำอีกครั้งจึงจะทำลายปุ่มเขาได้สำเร็จ เสร็จแล้วใช้น้ำมันมะพร้าวชะโลมที่แผล เครื่องมือตามภาพ เป็นแบบเหล็กใช้เผาไฟ ด้านบนเป็นเครื่องจี้เขาไฟฟ้า เมื่อจะนำไปเสียบปลั๊กไฟให้ตอนปลายร้อนแดงแทนการเผาไฟ
การตอนโค
ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้หรือขายทำพันธุ์ หรือเพื่อใช้ทำงาน ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 - 6 เดือน โคตัวผู้ที่ต้องการใช้ทำงานควรตอนเมื่ออายุประมาณ 3 - 4 ปี เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าของร่างกายโคได้พัฒนาตามลักษณะของโคตัวผู้อย่างเต็มที่ก่อน กล้ามเนื้อส่วนหน้าจะทำให้โคทำงานได้แข็งแรง การตอนสามารถทำได้โดยการทุบแบบพื้นบ้าน การผ่าเอาลูกอัณฑะออก แต่วิธีที่ปลอดภัยคือ การตอนโดยใช้คีม ที่เรียกว่า "เบอร์ดิซโซ่ (Burdizzo) โดยใช้คีมหนีบให้ท่อนำน้ำเชื้อเหนือลูกอัณฑ์อุดตัน

การหย่านมลูกโค
เกษตรกรโดยทั่วไปมักปล่อยให้ลูกโคอยู่กับแม่จนโตกรทั่งแม่โคคลอดลูกตัวใหม่ ซึ่งจะมีผลเสียทำให้แม่โคขณะอุ้มท้องใกล้คลอดมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพราะต้องกินอาหารเพื่อเลี้ยงทั้งลูกโคที่กำลังอยู่ในท้องและลูกโคตัวเดิมอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่ง ถึง 7 เดือน แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงสุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย เมื่อหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 200 วัน ควรได้น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย 180 ก.ก. โดยปกติ หากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะทำให้แม่โคมีโอกาสฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็วก็สามารถหย่านมได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรมมากนัก หากแม่โคผอมมากไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ต่อไป ควรหย่านมก่อนกำหนดได้ ลูกโคที่ขนหยอง แสดงว่าแม่มีนมไม่พอเลี้ยงลูก ควรรีบหย่านมนำมาเลี้ยงดูต่างหาก การหย่านมลูกโคที่อายุต่ำกว่า 5 สัปดาห์ จะต้องให้อาหารนมหรืออาหารแทนนมแบบเดียวกับการเลี้ยงลูกโคนม ควรให้ลูกโคกินอาหารหยาบพวกหญ้าไม่เกิน 15% วัตถุแห้งของอาหารลูกโค ถ้ามากกว่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารข้นลดลงเพราะจะไปแย่งเนื้อที่ในกระเพาะ ปริมาณอาหารข้นไม่ควรต่ำกว่า 50% แต่ควรเป็น 85% วัตถุแห้ง ถ้าจำเป็นที่ต้องให้ปลาหรือเนื้อป่นในอาหารเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนก็ควรจะรอให้ลูกโคกินอาหารเก่งเสียก่อนจึงค่อยผสมในอาหาร เพราะจะไปลดความน่ากิน การเลี้ยงลูกโคขนาดเล็กดังกล่าวต้องใช้อาหารคุณภาพดีซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรหย่านมลูกโคเร็วเกินไป ลูกโคที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจหย่านมช้าลง โดยให้อยู่กับแม่ไปจนถึงอายุ 8 เดือน แต่ก็จะทำให้แม่โคมีสุขภาพทรุดโทรมมาก มีผลทำให้เมื่อคลอดลูกตัวใหม่แล้วจะกลับเป็นสัดช้าลง ระยะเวบลาในการให้ลูกตัวต่อๆ ไปจะห่างขึ้น ก่อนหย่านมควรให้ลูกโคได้มีโอกาสกินหญ้าในแปลงที่มีคุณภาพดี ในขณะที่แม่โคได้กินหญ้าคุณภาพต่ำกว่า แต่ลูกโคสามารถมาหาแม่ได้ตามที่ต้องการ ช่วงลอดระหว่างแปลงห่างประมาณ 400 - 450 มม. เมื่อหย่านมแล้วควรแน่ใจว่ามีอาหารให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ควรหย่านม ระยะหย่านมและหลังหย่านมควรมีอาหารคุณภาพดีให้ลูกโคกินอย่างเพียงพอ หย่านมโดยแยกลูกโคจากแม่ นำไปขังในคอกที่แข็งแรง ควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้นซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3 - 5 วัน เพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคส่วนหนึ่งจะแหกรั้วหรือคอกมาหาลูก หลังจาก 3 - 5 วัน แม่โคจะเริ่มยอมรับสภาพและค่อยๆ ห่างไปจนสามารถต้อนไปแปลงหรือคอกที่ห่างไกลได้ ขังลูกไว้ในคอกประมาณ 7 - 10 วัน โดยให้กินอาหารข้นและอาหารหยาบอย่างเต็มที่ คอกลูกโคหย่านมจะต้องอยู่ห่างจากคอกแม่พันธุ์ ระยะนี้เป็นการฝึกให้ลูกโคคุ้นเคยกับการให้อาหาร แร่ธาตุ การเข้าคอกคัด การพ่นเห็บหรือซองต่างๆ การไล่ต้อน ซึ่งจะมีความสำคัญในการให้ประสบการณ์แก่โคไปตลอดที่สำคัญก็คือ ควรเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีความมั่นคงแข็งแรงไม่ให้ลูกโคหนีได้ หากลูกโคสามารถหนีได้จะติดนิสัยไปตลอด
การตีเบอร์
การติดเบอร์หูลูกโคอาจหลุดหายได้ ดังนั้นเมื่อหย่านมช่วงที่แยกไว้ควรทำเครื่องหมายถาวรโดยตีเบอร์โคที่ตะโพก ส่วนใหญ่จะตีที่ด้านซ้ายของโค การตีเบอร์มีแบบการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็น การตีเบอร์ร้อนทำได้โดยนำเหล็กตีเบอร์เผาไฟแล้วนำมาประทับบนตัวโค การตีเบอร์เย็นใช้เหล็กตีเบอร์แช่ในน้ำแข็งแห้ง (dry ice) แทน ส่วนใหญ่ใช้การตีเบอร์ร้อนเพราะทำได้ง่ายและไม่เปลืองค่าใช้จ่าย การตีเบอร์ร้อนทำโดย จับโคบังคับให้อยู่กับที่ อาจล้มมัดขาทั้ง 4 ให้แน่ หรืออาจทำในซองบังคับโค เผาเหล็กตีเบอร์ให้ร้อนจัด ประทับเบอร์ลงบนผิวหนังโคโดยนาบไว้ประมาณ 2 - 3 วินาที อย่าใช้แรงกดเบอร์ลงไป เพราะความร้อนจะกระจาย ทำให้เนื้อบริเวณนั้นสุก จะเกิดการอักเสบเป็นแผลเน่าได้ เสร็จแล้วใช้ยาเหลืองทา
คัดลูกโคที่สามารถใช้ทำพันธุ์ได้เก็บไว้เพื่อเลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์หรือขายทำพันธุ์ ลูกโคที่เก็บไว้ทำพันธุ์ควรมีน้ำหนักหย่านมเท่ากับหรือมากกว่าน้ำหนักหย่านมมาตรฐานของโคพันธุ์นั้นๆ และควรมีน้ำหนักหย่านมเกินค่าเฉลี่ยของฝูง ลูกโคที่เหลือจากการคัดไว้ทำพันธุ์อาจเก็บไว้เลี้ยงขุนขาย ลูกโคชุดนี้ควรสังเกตให้ดี ควรคัดตัวที่แคระแกร็นและลักษณะไม่ดีออกเสีย
โคสาว หมายถึง โคเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (หรือน้ำหนักตั้งแต่ 240 ก.ก.) จนมีน้ำหนักถึง 280 ก.ก. (หรืออายุประมาณ 18 เดือน)
การคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์
ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์ให้มากกว่าจำนวนแม่โคที่คัดออกไม่ต่ำกว่า 2 เท่า เพราะหลังจากการผสมในปีแรก อาจต้องคัดแม่โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกออกอีกมาก เช่น คัดแม่โคออกปีละ 10 ตัว ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์อย่างน้อยปีละ 20 ตัว การคัดโคสาวไว้มาก อาจทำให้ต้องลดจำนวนโคขนาดอื่นในฟาร์มลง แต่โคสาวที่คัดออกภายหลังก็มีราคาสูงกว่าเมื่อขายที่หย่านม การเลี้ยงไว้อาจคุ้มค่า คัดโคสาวที่มีลักษณะขาและเท้าไม่ดีออก ปล่อยให้โคเดินอย่างอิสระ ตรวจดูเท้าและกีบว่ามีขนาดเท่ากันหรือไม่ นอกจากนั้นควรดูตา ปาก และเต้านมด้วย โคที่ตื่นง่ายหรือไม่เชื่องควรคัดออกเพราะจะสร้างปัญหาในการเลี้ยงดู และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ โคสาวที่อ้วนเกินไปจะมีปัญหาการคลอดยากเนื่องจากลูกโคจะมีขนาดใหญ่มาก หากผอมเกินไปจะมีปัญหาเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของมดลูกและไม่มีแรงเมื่อคลอด
ให้คัดตัวที่มีลักษณะเพศเมียเอาไว้ก่อนเพราะเป็นโคที่มีโอกาสผสมติดสูงและผลิตน้ำนมได้มาก ลักษณะดังกล่าวได้แก่ มีหน้ายาว คอเรียวบาง โครงสร้างช่วงไหล่บางและหนังบาง ดูได้จากช่วงลำคอที่ราบเรียบ มีลักษณะคล้ายโคนมมากกว่าโคเจ้าเนื้อ ควรคัดโคที่มีลักษณะคล้ายโคตัวผู้ออก
การผสมพันธุ์
ระยะนี้ไม่ควรให้แม่โคสาวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง จึงควรให้อาหารแต่พอดี หากโคสาวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากก็สามารถเพิ่มจำนวนแม่โคในแปลงหญ้าได้อีก แต่สำหรับแม่โคที่เคยให้ลูกมาแล้วถ้าให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในระยะจากคลอดลูกถึงตลอดฤดูผสมพันธุ์จะทำให้มีอัตราการตั้งท้องสูงขึ้น หากผสมโดยใช้พ่อพันธุ์ควรคัดเลือกโคสาวที่จะผสมให้เข้าฝูงผสมและเลี้ยงในแปลงหญ้าหรือเลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพดีก่อนประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ก่อนนำพ่อพันธุ์เข้าคุมฝูง พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูง
ระยะตั้งท้อง
อัตราการเพิ่มน้ำหนักตลอดระยะเวลาตั้งท้องของแม่โคสาวไม่ควรเกิน 0.5 ก.ก./วัน นอกจากในช่วงท้ายของการตั้งท้องสามารถปล่อยให้เติบโตได้เต็มที่ เพราะหากจำกัดน้ำหนักเพื่อให้ลูกโคที่จะเกิดมีน้ำหนักน้อยก็ไม่มีผลในการลดการคลอดยาก แต่ถ้าแม่โคสาวมีน้ำหนักลดลงในช่วงนี้จะทำให้มีปัญหาในการคลอดยากเนื่องจากการไม่เจริญเติบโตของกระดูกเชิงกรานและการอ่อนแอเมื่อคลอด การคัดเลือกโคสาวที่มีกระดูกเชิงกรานใหญ่ สามารถช่วยลดอัตราการคลอดยากได้ ก่อนคลอด 2 - 3 เดือน ควรแยกเลี้ยงและคอยดูแลให้ดีตลอดระยะการคลอดและผสมพันธุ์
การคลอดของแม่โคสาว
ในระหว่างการคลอดหากแม่โคสาวถูกรบกวนอาจมีปัญหาในการคลอด ควรดูแลห่างๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรืออาจใช้กล้องส่องทางไกลส่องดูการเลี้ยงโคที่ใกล้คลอดไว้ในแปลงที่อยู่ใกล้จะช่วยให้การสังเกตได้สะดวกขึ้น แปลงควรอยู่ใกล้คอกด้วยหากมีปัญหาจะได้นำเข้าคอกเพื่อช่วยเหลือได้ง่าย โคสาวที่คลอดลูกตัวแรกที่อายุ 2 ปีประมาณเกือบ 50% อาจต้องช่วยเหลือ หากถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว 2 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมาควรให้การช่วยเหลือ ถ้าลูกโคคลอดเอาขาหลังออกหรือคลอดผิดท่า ควรให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน แต่หากแม่โคยังแข็งแรงดีอยู่ อาจรออีกประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ายังไม่คลอดจึงควรให้การช่วยเหลือ โคสาวที่ต้องช่วยคลอดปกติจะทิ้งลูก จึงควรขังแม่และลูกไว้ในคอกเดียวกัน ไม่ควรเอาเข้าฝูงจนกว่าแม่จะยอมให้ลูกดูดนม บางทีอาจจำเป็นต้องขังแม่ไว้ในซองและบังคับให้ยอมให้ลูกดูดนมประมาณ 2 - 3 วัน โคสาวที่ลูกตายหรือแท้งลูกควรคัดออก เพราะโคที่ไม่ให้ลูกไม่คุ้มค่าที่จะเลี้ยงไว้ต่อไป
การดูแลหลังคลอด
แม่โคสาวที่คลอดลูกแล้วส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการกลับเป็นสัด วิธีที่ช่วยให้โคสาวกลับเป็นสัดเร็วทำได้โดยแยกโคสาวท้องก่อนคลอด 2 - 3 เดือน เลี้ยงดูให้ดีตามที่กล่าวมา อีกวิธีหนึ่งคือแยกลูกโคที่อายุ 30 - 90 วัน เพื่อลดความเครียดของแม่โค โดยเฉพาะแม่โคที่มีปัญหาในการคลอด แต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกโคค่อนข้างสูง ควรใช้เมื่ออาหารขาดแคลนหรือกับแม่โคที่มีปัญหาจริงๆ เท่านั้น หรืออีกวิธีหนึ่ง โดยแยกลูกโคออกแล้วปล่อยให้ดูดนมแม่เพียงวันละครั้ง จะทำให้แม่โคสาวกลับเป็นสัดเร็วขึ้นโดยไม่มีผลเสียต่อน้ำหนักหย่านมและสุขภาพลูกโค เมื่อลูกโคตัวแรกหย่านม คัดโคสาวที่ให้ลูกมีน้ำหนักดีไว้เนื่องจากแสดงว่าแม่โคให้น้ำนมดี แม่โคที่ให้น้ำนมดีในปีแรกจะให้น้ำนมดีในปีต่อๆ ไปด้วย ทั้งนี้ดูลักษณะอื่นด้วย เช่น การผสมติดเร็ว โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกต้องการอาหารและการดูแลที่ดี ในปีถัดไปควรนำพ่อพันธุ์เขาผสมก่อนฝูงใหญ่ประมาณ 1 เดือน เพื่อกระตุ้นแม่โคที่ตกไข่ช้าให้เป็นสัด แล้วจึงนำเข้าร่วมกับฝูงใหญ่ในฤดูผสมปกติ ในปีถัดไป โคที่ไม่ท้องอีกควรคัดออกไม่ใช้เป็นแม่พันธุ์ในฝูงต่อไป อาจผสมซ้ำหรือปล่อยให้เลี้ยงลูกก่อนขาย

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

วันครู

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครู
วันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็

พระคุณครู "
สาลินีฉันท์ ๑๑ไม่มีคำสวยหรู จะเรียกครูจะพูดได้
ไม่มีคำอื่นใด จะแทนกันจะแทนคุณ
ไม่มีคำเอื้อนเอ่ย จะเปรียบเปรยพระการุณ
มีเพียงคำขอบคุณ จะเป็นทุนและก้าวเดิน