พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น พระแก้วมรกตถูกชิงไปเพื่อประดิษฐานที่เมืองต่างๆ จนครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้สถาปนาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
ตามตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด
การนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้จำแลงกายเป็นมานพธรรมดา ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าว่า ตนทั้งสองเป็นพ่อค้าเดินทางมาหลายที่ ได้ไปพบแก้วรัตนโสภณมณีโชติ อันมีรัตตนายกดิลกเฉลิม 3000 ดวง สีแดงสุกใส ที่เขาวิบุลบรรพต (เวฬุบรรพต) ณ ดินแดนห่างไกลโพ้น คิดว่าเป็นแก้วที่เหมาะสมควร แก่การนำมาจำหลักพระพุทธรูปให้สืบพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช ว่าแล้วดังนั้น เมื่อถึงเขาวิบุลบรรพต สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงทรงโปรดให้พระวิสสุกรรมเทพบุตร เข้าไปนำแก้วรัตนโสภณมณีโชติมา แต่พระวิสสุกรรมทรงกราบทูลว่า ยักษ์ผู้เฝ้าแก้วนั้นมิยอมมอบให้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงเสด็จด้วยพระองค์เอง พวกยักษ์ก็ยังกราบทูลไม่ถวายแก้วรัตนโสภณมณีโชติเช่นเดิม โดยทูลเหตุผลประกอบว่า แก้วนี้เป็นแก้วคู่บุญบารมีพระบรมศุลีจอมไกรลาส เป็นแก้วชั้นมหาจักรพรรดิ มิสามารถถวายให้ได้จริง สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงตรัสตอบว่า จะทรงนำไปจำหลักพระพุทธรูปให้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดล่วง 5000 พระชันษา เหล่ายักษ์จึงประชุมกันและลงความเห็น มอบแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) ให้ไปแทน
เมื่อถึงวัดอโศการาม จึงทรงมอบให้พระนาคเสน และพระวิษุกรรมจึงทรงจำหลักพระพุทธรูปองค์นี้ถวายดังพระประสงค์ เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึงบอกบุญไปยังอุบาสก อุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการาม แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตนบัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
นอกจากนี้ในตำนานยังระบุด้วยว่าขณะที่ประดิษฐานอยู่นั้น พ่อค้าวานิช และพระมหาราชาธิราชจากประเทศต่างๆที่มาสักการะ ต่างพบเห็นพระแก้วมรกตเปล่งพระรัศมีออกมางามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่น่าพิศวงยินดียิ่งนัก พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
[แก้] เสด็จลังกาทวีปและแผ่นดินกัมพูชา
พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จึงลงความเห็นกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องอัญเชิญหนีมหาภยันตราย จึงอัญเชิญพระรัตนตรัย และพุทธบริษัท คือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตในฐานะพระพุทธ พระไตรปิฎกธรรม ที่ประดิษฐานในวิหารนั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ พ่อค้าวานิชและชาวเมืองปาฏลีบุตรกลุ่มหนึ่ง ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง พระศีลขันธ์ภิกษุ และพระอาจารย์(ไม่ได้ระบุนาม) ได้ทำการพิจารณาพระไตรปิฎก ท่านเกิดสงสัยว่าพระไตรปิฎกธรรมในแผ่นดินพม่ารามัญทั้งปวงนั้น เห็นจะผิดอักขระไม่ต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา จึงทูลพระเจ้าอนุรุทธไปตามนั้น พระเจ้าอนุรุทธได้ทรงสดับก็มีพระศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสถามถึงที่ตั้งของพระไตรปิฎกธรรมฉบับที่ถูกต้อง พระศีลขันธ์จึงทูลว่า พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น คือพระไตรปิฎกฉบับพระพุทธโฆษาจารย์เถระที่ลังกาทวีป
พระเจ้าอนุรุทธจึงมีพระราชโองการ ดำรัสสั่งเสนาบดีให้แต่งสำเภาเชิญพระราชสาส์นสองลำ ให้แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธจารลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการอันเป็นต้นว่าดินสอแก้ว น้ำมันดิน พลอย ทับทิม รัตนชาติหลากชนิด และสิ่งของอื่นๆเป็นอันมาก แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม 8 รูป ซึ่งรวมถึงพระศีลขันธ์ภิกษุและพระอาจารย์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราชบุรุษ ทั้งราชทูต อุปทูต ตรีทูต และไพร่พลพอสมควร คุมพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ โดยที่พระองค์เองประทับสำเภาพระที่นั่ง และพลทหารบริวารอีกหนึ่งลำ รวมเป็นสี่ลำ มุ่งหน้าสู่ลังกาทวีป
ราชทูตพุกามเข้าเฝ้าถวายสาส์น พระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปก็เสด็จรับ ด้วยพระองค์เองที่พระราชวังริมฝั่งอ่าวลังกา พระสังฆราชลังกาก็ให้การอุปสมบทพระสงฆ์พุกามทั้ง 8 รูปเป็นภิกษุบริสุทธิ์พระเจ้าอนุรุทธ ดำรัสสั่งเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิต ระดมคัดลอกพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัททาวิเสส ซึ่งครั้งนั้น ชาวเมืองลังกาก็ช่วยคัดเพิ่มอีกสำรับหนึ่ง
พระเจ้าอนุรุทธจึงขอพระราชทานพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จากพระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ ซึ่งด้วยเป็นพระราชไมตรีอันมาช้านานนั้น จึงต้องจำพระทัยยกให้ แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน
พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 1172
[แก้] เสด็จประทับ เชียงแสน ล้านนา ล้านช้าง
หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนทรงทราบว่าพระบรมราชาธิราช เจ้าเมืองกำแพงเพชรมีพระแก้วมรกต พระเจ้าพรหมทัศน์มีพระราชประสงค์ใคร่จะได้ ไปเป็นศรีนครแก่นครเชียงแสนจึงทูลขอต่อพระเจ้ากำแพงเพชร
ด้วยสันถวไมตรีพระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้พิจารณาว่า หากนำพระแก้วมรกต หลบภัยสงครามไปด้วยอาจจะเกิดอันตรายกับพระแก้วมรกตได้ จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและ ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด เป็นอันจบส่วนของตำนาน เพราะหลังจากมีการพบพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ในเจดีย์ป่าญะ วัดพระแก้วงามเมืองนั้น ก็เป็นเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกตรงกันในทุกสำนัก หากแต่คลาดเคลื่อนเรื่องวันเดือนปีไปบ้าง เนื่องจากการนับศักราชต่างกันแก่ลาว
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น พระแก้วมรกตถูกชิงไปเพื่อประดิษฐานที่เมืองต่างๆ จนครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้สถาปนาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
ตามตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด
การนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้จำแลงกายเป็นมานพธรรมดา ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าว่า ตนทั้งสองเป็นพ่อค้าเดินทางมาหลายที่ ได้ไปพบแก้วรัตนโสภณมณีโชติ อันมีรัตตนายกดิลกเฉลิม 3000 ดวง สีแดงสุกใส ที่เขาวิบุลบรรพต (เวฬุบรรพต) ณ ดินแดนห่างไกลโพ้น คิดว่าเป็นแก้วที่เหมาะสมควร แก่การนำมาจำหลักพระพุทธรูปให้สืบพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช ว่าแล้วดังนั้น เมื่อถึงเขาวิบุลบรรพต สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงทรงโปรดให้พระวิสสุกรรมเทพบุตร เข้าไปนำแก้วรัตนโสภณมณีโชติมา แต่พระวิสสุกรรมทรงกราบทูลว่า ยักษ์ผู้เฝ้าแก้วนั้นมิยอมมอบให้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงเสด็จด้วยพระองค์เอง พวกยักษ์ก็ยังกราบทูลไม่ถวายแก้วรัตนโสภณมณีโชติเช่นเดิม โดยทูลเหตุผลประกอบว่า แก้วนี้เป็นแก้วคู่บุญบารมีพระบรมศุลีจอมไกรลาส เป็นแก้วชั้นมหาจักรพรรดิ มิสามารถถวายให้ได้จริง สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงตรัสตอบว่า จะทรงนำไปจำหลักพระพุทธรูปให้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดล่วง 5000 พระชันษา เหล่ายักษ์จึงประชุมกันและลงความเห็น มอบแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) ให้ไปแทน
เมื่อถึงวัดอโศการาม จึงทรงมอบให้พระนาคเสน และพระวิษุกรรมจึงทรงจำหลักพระพุทธรูปองค์นี้ถวายดังพระประสงค์ เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึงบอกบุญไปยังอุบาสก อุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการาม แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตนบัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต
นอกจากนี้ในตำนานยังระบุด้วยว่าขณะที่ประดิษฐานอยู่นั้น พ่อค้าวานิช และพระมหาราชาธิราชจากประเทศต่างๆที่มาสักการะ ต่างพบเห็นพระแก้วมรกตเปล่งพระรัศมีออกมางามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่น่าพิศวงยินดียิ่งนัก พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
[แก้] เสด็จลังกาทวีปและแผ่นดินกัมพูชา
พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จึงลงความเห็นกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องอัญเชิญหนีมหาภยันตราย จึงอัญเชิญพระรัตนตรัย และพุทธบริษัท คือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตในฐานะพระพุทธ พระไตรปิฎกธรรม ที่ประดิษฐานในวิหารนั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ พ่อค้าวานิชและชาวเมืองปาฏลีบุตรกลุ่มหนึ่ง ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง พระศีลขันธ์ภิกษุ และพระอาจารย์(ไม่ได้ระบุนาม) ได้ทำการพิจารณาพระไตรปิฎก ท่านเกิดสงสัยว่าพระไตรปิฎกธรรมในแผ่นดินพม่ารามัญทั้งปวงนั้น เห็นจะผิดอักขระไม่ต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา จึงทูลพระเจ้าอนุรุทธไปตามนั้น พระเจ้าอนุรุทธได้ทรงสดับก็มีพระศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสถามถึงที่ตั้งของพระไตรปิฎกธรรมฉบับที่ถูกต้อง พระศีลขันธ์จึงทูลว่า พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น คือพระไตรปิฎกฉบับพระพุทธโฆษาจารย์เถระที่ลังกาทวีป
พระเจ้าอนุรุทธจึงมีพระราชโองการ ดำรัสสั่งเสนาบดีให้แต่งสำเภาเชิญพระราชสาส์นสองลำ ให้แต่งพระราชสาส์นเป็นภาษามคธจารลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ และเครื่องราชบรรณาการอันเป็นต้นว่าดินสอแก้ว น้ำมันดิน พลอย ทับทิม รัตนชาติหลากชนิด และสิ่งของอื่นๆเป็นอันมาก แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณธรรม 8 รูป ซึ่งรวมถึงพระศีลขันธ์ภิกษุและพระอาจารย์ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราชบุรุษ ทั้งราชทูต อุปทูต ตรีทูต และไพร่พลพอสมควร คุมพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ โดยที่พระองค์เองประทับสำเภาพระที่นั่ง และพลทหารบริวารอีกหนึ่งลำ รวมเป็นสี่ลำ มุ่งหน้าสู่ลังกาทวีป
ราชทูตพุกามเข้าเฝ้าถวายสาส์น พระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปก็เสด็จรับ ด้วยพระองค์เองที่พระราชวังริมฝั่งอ่าวลังกา พระสังฆราชลังกาก็ให้การอุปสมบทพระสงฆ์พุกามทั้ง 8 รูปเป็นภิกษุบริสุทธิ์พระเจ้าอนุรุทธ ดำรัสสั่งเสนาอำมาตย์ราชบัณฑิต ระดมคัดลอกพระไตรปิฎกและคัมภีร์สัททาวิเสส ซึ่งครั้งนั้น ชาวเมืองลังกาก็ช่วยคัดเพิ่มอีกสำรับหนึ่ง
พระเจ้าอนุรุทธจึงขอพระราชทานพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต จากพระเจ้าขัตติยศรีรามวงศ์ ซึ่งด้วยเป็นพระราชไมตรีอันมาช้านานนั้น จึงต้องจำพระทัยยกให้ แต่ด้วยที่แผ่นศรีเกษตรพุกามนั้น มิได้เป็นแผ่นดินที่พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจะประดิษฐาน เรือพระที่นั่งพระเจ้าอนุรุทธและเรือพระไตรปิฎกฉบับชาวพุกามคัดลอก สามารถกลับถึงกรุงพุกามได้เพียงสองลำ ส่วนเรือทรงพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต และพระไตรปิฎกฉบับชาวลังกาช่วยคัดลอกถูกพายุมรสุมพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน
พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา มีพระรับสั่งว่า สำเภาซึ่งบรรทุกพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตกับพระไตรปิฎกนั้น เป็นของพระเจ้ากรุงพุกามจริงและทรงเห็นแก่พระราชไมตรี จึงทรงให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย แต่ถึงมิได้พระแก้วกลับมา พระเจ้าอนุรุทธก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และแก้ไขพระไตรปิฎกที่ผิดเพี้ยนทั้งหมดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 1172
[แก้] เสด็จประทับ เชียงแสน ล้านนา ล้านช้าง
หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย
ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนทรงทราบว่าพระบรมราชาธิราช เจ้าเมืองกำแพงเพชรมีพระแก้วมรกต พระเจ้าพรหมทัศน์มีพระราชประสงค์ใคร่จะได้ ไปเป็นศรีนครแก่นครเชียงแสนจึงทูลขอต่อพระเจ้ากำแพงเพชร
ด้วยสันถวไมตรีพระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้พิจารณาว่า หากนำพระแก้วมรกต หลบภัยสงครามไปด้วยอาจจะเกิดอันตรายกับพระแก้วมรกตได้ จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและ ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด เป็นอันจบส่วนของตำนาน เพราะหลังจากมีการพบพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ในเจดีย์ป่าญะ วัดพระแก้วงามเมืองนั้น ก็เป็นเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกตรงกันในทุกสำนัก หากแต่คลาดเคลื่อนเรื่องวันเดือนปีไปบ้าง เนื่องจากการนับศักราชต่างกันแก่ลาว